เมนู

13. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [276]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์
คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น จาหํ " เป็นต้น.

พราหมณ์เข้าเฝ้าพระศาสดา


ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า " พระสมณโคดม ตรัสเรียกสาวก
ทั้งหลายของพระองค์ว่า ' พราหมณ์,' ส่วนเราก็เป็นผู้เกิดในกำเนิด
พราหมณ์, การที่พระองค์ตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง ย่อมควร" ดังนี้แล้ว
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามเนื้อความนั้น.

ลักษณะแห่งพราหมณ์


ลำดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะเขาว่า " พราหมณ์ เราย่อมไม่
เรียกว่า ' พราหมณ์ ' ด้วยเหตุสักว่าเกิดในกำเนิดพราหมณ์เท่านั้น, ส่วน
ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ถือมั่น, เราเรียกผู้นั้นว่า ' เป็นพราหมณ์ "
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
3. น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ
โภวาที นาม โส โหติ ส เว โหติ สกิญฺจโน
อกิญฺจนํ อนาทนํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" เราไม่เรียกบุคคลผู้เกิดแต่กำเนิด ผู้มีมารดา
เป็นแดนเกิดว่า เป็นพราหมณ์; เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่า
โภวาที, เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล, เราเรียก
ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้นว่า เป็น
พราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยนิชํ ได้แก่ ผู้เกิดแล้วแต่กำเนิด.
บทว่า มตฺติสมฺภวํ ความว่า ผู้เกิดแล้วในท้องอันเป็นของมีอยู่แห่ง
มารดาผู้เป็นพราหมณี.
บทว่า โภวาที ความว่า ก็เขาเที่ยวกล่าวอยู่ว่า " ผู้เจริญ ผู้เจริญ "
ในคำที่ร้องเรียกกันเป็นต้น ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที, เขาแล ยังเป็น
ผู้มีกิเลสเครื่องกังวล ด้วยกิเลสเครื่องกังวลทั้งหลายมีราคะเป็นต้น; แต่
เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นอาทิ ผู้ไม่
ถือมั่นด้วยอุปาทาน 4 ว่า เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.